ยุคปัจจุบันเป็นยุคที่ "ความรู้ คือ อำนาจ" อย่างไรก็ตามผู้ที่จะสามารถใช้ข้อมูลข่าวสารต่างๆให้เกิดอำนาจได้นั้นจำเป็นต้องมีความสามารถในการใช้ปรับข้อมูลข่าวสารให้อยู่ในรูปขององค์ความรู้และนำมาใช้ประกอบการดำเนินชีวิตด้านต่างๆได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดซึ่งผู้ที่จะสามารถเป็นเช่นนั้นได้จะต้องมีคุณสมบัติประการหนึ่งในชีวิตนั่นคือ "คิดเป็น"
การคิด (Thinking) คือการที่คนคนหนึ่งพยายามใช้พลังทางสมองของตนในการนำเอาข้อมูล ความรู้ประสบการณ์ต่างๆที่มีอยู่ มาจัดวางอย่างเหมาะสมเพื่อให้ได้มา ซึ่งผลลัพธ์เช่น การตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ดีที่สุด เป็นต้น
การคิดเหมือนการเรียงหินที่กระจัดกระจายให้เป็นระเบียบเรียบร้อยโดยนำหินแต่ละก้อน มาประกอบกันในแต่ละที่อย่างเหมาะสม "การเรียงหิน" เปรียบได้กับ "การจัดระเบียบข้อมูล" ที่เราได้ใช้การคิดไตร่ตรองอย่างละเอียดรอบคอบ ลึกซึ้ง และมีระบบระเบียบ
สำหรับคนที่ "คิดเป็น" จะสามารถจัดข้อมูลให้เรียงกันอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อให้ได้ความคิดที่ดีที่สุดเช่นเดียวกับหินที่ได้รับการจัดวางเรียงอย่างเหมาะสมย่อมกลายเป็นอาคารที่งดงามได้ในที่สุดในขณะเดียวกัน
ส่วนคนที่ "คิดไม่เป็น"ก็เหมือนกันคนที่โยนก้อนหินมากองๆ รวมกันหรือจัดอย่างสะเปะสะปะ ไม่รู้ว่าก้อนใดควรอยู่ที่ใด ความคิดที่ออกมาจึงไม่ได้เป็นความคิดที่มีความชัดเจนและเป็นระบบระเบียบ
ความสามารถในการคิด ทำให้มนุษย์มีความเป็นมนุษย์ที่มีความแตกต่างจากสัตว์สามารถแก้ปัญหาให้กับตนเองได้สามารถคิดสร้างสรรค์เครื่องทุ่นแรงสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ได้สามารถสร้างความสุข ให้กับตนเองและปกป้องตนเองให้พ้นจากภัยธรรมชาติได้การคิด ทำให้คนไม่ถูกหลอกด้วยการตีความหรือยอมรับการตีความข้อมูลอย่างผิดๆ และไม่เชื่อถือสิ่งต่างๆอย่างง่ายๆแต่จะวินิจฉัยไตร่ตรอง และพิสูจน์ความจริง อย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจเลือก
จึงขอนำเสนอแนวทางในการคิด 10 มิตินั่นคือ
ประการแรกการคิดเชิงวิพากย์ (Critical Thinking) หมายถึงความตั้งใจที่จะพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยการไม่เห็นคล้อยตามข้อเสนออย่างง่ายๆแต่ตั้งคำถามท้าทายหรือโต้แย้งสมมติฐานและข้อสมมติที่อยู่เบื้องหลังและพยายามเปิดแนวทางความคิด ออกลู่ทางต่างๆที่แตกต่างจากข้อเสนอนั้นเพื่อให้สามารถได้คำตอบที่สมเหตุสมผลมากกว่าข้อเสนอเดิม
ประการที่ 2 การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) หมายถึงการจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆของสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งและหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้นเพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น
ประการที่ 3 การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis-Type Thinking) หมายถึงความสามารถในการดึงองค์ประกอบต่างๆมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้สิ่งใหม่ ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
ประการที่ 4 การคิดเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Thinking) หมายถึงการพิจารณาเทียบเคียงความเหมือน และ หรือ ความแตกต่างระหว่างสิ่งนั้นกับสิ่งอื่นๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจสามารถอธิบายเรื่องนั้นได้อย่างชัดเจนเพื่อประโยชน์ในการคิด การแก้ปัญหาหรือการหาทางเลือดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ประการที่ 5 การคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) หมายถึงความสามารถในการประสานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใดได้อย่างไม่ขัดแย้งแล้วนำมาสร้างเป็นความคิดรวบยอดหรือกรอบความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น
ประการที่ 6 การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) หมายถึงการขยายขอบเขตความคิดออกไป จากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่สู่ความคิดใหม่ๆที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น
ประการที่ 7 การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking) หมายถึงความสามารถในการนำเอาสิ่งที่มีอยู่เดิมไปปรับใช้ประโยชน์ในบริบทใหม่ได้อย่างเหมาะสมโดยยังคงหลักการของสิ่งเดิมไว้
ประการที่ 8 การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) หมายถึงความสามารถในการกำหนดแนวทางที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆที่เกี่ยวข้อง เข้าหาแกนหลักได้อย่างเหมาะสมเพื่ออธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ประการที่ 9 การคิดเชิงบูรณาการ (Integrative Thinking) หมายถึงความสามารถในการเชื่อมโยงแนวคิด หรือองค์ประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้าหาแกนหลักได้อย่างเหมาะสมเพื่ออธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ประการที่ 10 การคิดเชิงอนาคต (Futuristic Thinking) หมายถึงความสามารถในการคาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอย่างมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม __________________
ถ้าเพื่อนๆลองนำวิธีคิดทั้ง10 มิติไปลองใช้ดูน่ะค่ะ เพราะวิธีการคิดต่างๆเหล่านี้จะช่วยให้เพื่อนๆประสบความสำเร็จและยากที่จะผิดพลาดในการติดสินใจทำสิ่งใดๆ จะทำให้เราไม่หลงเชื่อสิ่งใดอย่างง่ายๆ แต่จะคิดไตร่ตรองอย่างละเอียดรอบคอบก่อนตัดสินใจ สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์และสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีกลยุทธ์ทำให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ได้อีกทั้งสามารถเตรียมความพร้อม ให้กับอนาคตที่จะมาถึงได้อย่างรอบคอบ
ปวีณา (ปุ๋ย) 49040075
0 comments:
Post a Comment